Torque Wrench

Torque Wrench ประแจวัดแรงบิด

ปัจจุบันความก้าวหน้าในวิชาโลหะวิทยาเป็นไปอย่างรวดเร็วทำให้มีพัฒนาการผลิตสลักเกลียวและแป้นเกลียวอย่างมาก ปัจจุบันจึงจำเป็นต้องมีประแจวัดแรงบิด กำหนดมาว่าเกลียวขนาดใดจะใช้แรงบิดเท่าใด ต้องศึกษาจากตารางกำหนดแรงขันเกลียวเพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลสูงสุด

ประแจแรงบิด( Torque Wrench ) หรือประแจปอนด์หรือบางครั้งแรกว่าประแจวัดโมเมนต์บิด ประแจวัดแรงบิดจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำว่า แรงบิด ( Torque ) เป็นค่าทางวิทยาศาสตร์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อวัดแรงที่กระทำในการบิดให้วัตถุหมุนเคลื่อนที่ไปในทิศทางเชิงมุม

 

การแบ่งประเภทของอุปกรณ์วัดแรงบิด

แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดอ่านค่า และ ชนิดตั้งค่า

อุปกรณ์วัดแรงบิด ชนิดอ่านค่า (Indicating Torque Tools) จะแสดงค่าแรงบิดที่แท้จริงขณะใช้งาน มีทั้งเข็มชี้และตัวเลขดิจิทัล ดังนี้

1.      Torsion or Flexion Bar Torque Wrench ลักษณะภายนอกเป็นแบบคานหรือเป็นแบบตัวแสดงผลโดยเข็มชี้ที่ค่าแรงบิดที่วัดได้

2.      Dial Type Torque Wrench แสดงผลโดยเข็มชี้ที่ค่าแรงบิดที่วัดได้

3.      Digital Type Torque Wrench แสดงค่าแรงบิดเป็นตัวเลขดิจิทัล

4.      Dial Type Torque Wrench แสดงผลโดยเข็มชี้ที่ค่าแรงบิดที่วัดได้

5.      Digital Type Torque Screwdriver แสดงค่าแรงบิดเป็นตัวเลขดิจิทัล

 

อุปกรณ์วัดแรงบิดชนิดตั้งค่า ( Setting  Torque Tools) แบ่งออกได้ดังนี้

1.      Graduated Torque Wrench สามารถเลือกตั้งค่าแรงบิดที่ต้องการได้ความต้องการของผู้ใช้งาน

2.      Non –  Graduated Torque Wrench ค่าแรงบิดกำหนดแน่นอนมาจากทางผู้ผลิต

3.      Graduated Torque Screwdriver สามารถเลือกตั้งค่าแรงบิดได้ตามต้องการ

4.      Non –  Graduated Torque Screwdriver ค่าแรงบิดกำหนดแน่นอนมาจากทางผู้ผลิต

อุปกรณ์มาตรฐานสำหรับสอบเทียบอุปกรณ์วัดแรงบิด

อุปกรณ์มาตรฐานสำหรับสอบเทียบอุปกรณ์วัดแรงบิดมีหลายชนิด Torque

Transducer เป็นที่นิยมมากเนื่องจากใช้ง่าย

ข้อควรปฏิบัติขั้นต้นก่อนการสอบเทียบ

1.      ศึกษาวิธีการใช้งาน

2.      ตรวจสอบอุปกรณ์พร้อมที่จะใช้งาน

3.      ควรอุ่นเครื่องก่อนเริ่มใช้งาน

4.      เลือกอุปกรณ์มาตรฐานให้เหมาะสมกัน

5.      ติดตั้งประแจวัดแรงบิดให้ขนานกับแนวระดับของอุปกรณ์มาตรฐาน

6.      จัดให้เสาต้านแรงบิด ( Reaction Post ) อยู่ ณ ตำแหน่งที่กำหนด

วิธีการสอบเทียบ

อุปกรณ์วัดแรงบิด ชนิดอ่านค่า (Indicating Torque Tools)

1.      บันทึกรายละเอียดต่างๆ

2.      กำหนดค่าแรงบิดที่จะทำการวัด

3.      เลือกหน่วยที่จะทำการสอบเทียบ

4.      เลือก Adapter ให้เหมาะสมกับงาน

5.      Set Zero อุปกรณ์วัดแรงบิด

6.      ค่อยๆจ่ายแรงบิด

7.      ทำการสอบเทียบจุดต่างๆ

8.      ถอดอุปกรณ์วัดแรงบิดออกจากที่ตั้ง

9.      นำผลมาหาค่าเฉลี่ย

อุปกรณ์วัดแรงบิดชนิดตั้งค่า (Setting Torque Tool)

1.      บันทึกรายละเอียดต่างๆ

2.      กำหนดค่าแรงบิดที่จะทำการวัด

3.      เลือกหน่วยที่จะทำการสอบเทียบ

4.      เลือก Adapter ให้เหมาะสมกับงาน

5.      Set Zero อุปกรณ์วัดแรงบิด

6.      ค่อยๆจ่ายแรงบิด

7.      ทำการสอบเทียบจุดต่างๆ

8.      ถอดอุปกรณ์วัดแรงบิดออกจากที่ตั้ง

9.      นำผลมาหาค่าเฉลี่ย

แหล่งที่มาของความไม่แน่นอนในการสอบเทียบอุปกรณ์วัดแรงบิด

เนื่องจากค่า  Accuracy ของอุปกรณ์วัดแรงบิดเป็น % of Reading ซึ่งทำให้มีค่าขอบเขตที่ยอมให้อุปกรณ์วัดแรงบิดผิดพลาดได้เพิ่มมากขึ้นตามย่านการใช้งานที่สูงขึ้น ดังนั้นในการคำนวณค่าความไม่แน่นอนในการสอบเทียบจึงต้องคำนวณทุกๆจุดที่ทำการสอบเทียบ


ขอบคุณที่มา: e-learning.pltc.ac.th/files/syllabus/86/20071219155956.doc